บทความวิจัย
กรณีศึกษาคณะเพลงลำภาวัดบางปรือ จังหวัดตราด
Bringing the Eastern Folk Performing Arts Knowledge Lesson to the Database for Lifelong Learning: A Case study of folk performance of Lampa song Company of Wat Bang Prue, Trad Province
อาจารย์ประจาสาขาวิชาดนตรี คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชุมชนและจัดทำองค์ความรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ภาคตะวันออก ผ่านกระบวนการถอดบทเรียน: กรณีศึกษาคณะเพลงลำภาวัดบางปรือ จังหวัดตราด เพื่อจัดทำฐานข้อมูลศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ภาคตะวันออก
ผลการศึกษาพบว่า การแสดงเพลงลำภาในเขตตำบลห้วยแร้ง จะมีคณะเพลงลำภำประจำแต่ละวัด หน้าที่ของคณะเพลงลำภาคือ กำรขอรับบริจาคสิ่งของเงินทองจากชาวบ้าน เพื่อนำไปทำบุญให้กับวัดในหมู่บ้าน โดยใน 1 ปี จะมีการแสดงเพื่อขอรับบริจาคเพียงหนึ่งครั้งในเทศกาลสงกรานต์ คณะเพลงลำภาวัดบางปรือจะแสดงทุกวันที่ 14 เมษายนของทุกปี โดยเริ่มออกเดินร้องเพลงขอรับบริจาคตั้งแต่เวลา 18.00 น. จนถึงเวลา 6.00 น. ของวันที่ 15 เมษายน สิ่งของต่ำงๆ จะนำไปถวายวัดในพิธีทำบุญขนทรายเข้าวัด ศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพลงลำภา จึงเป็นความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน ในการทำหน้าที่ทำนุบำรุงศาสนา โดยชาวบ้านจะอาสาออกมาตั้งคณะเพลงลำภา และสืบทอดให้คนรุ่นต่อๆ มาได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน องค์ความรู้ของการร้องเพลงไม่ได้ถ่ายทอดกันแบบจริงจัง เป็นการถ่ายทอดแบบเข้าร่วมในกิจกรรมและจดจำวิธีการร้องร่วมกันไป