RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้
ที่นี่
หินอัคนี (Igneous Rock)
หินอัคนีระดับลึก (plutonic rock)
หินแกรนิตในภาคตะวันออกพบกระจายตัวหลายจังหวัด เช่น ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เป็นต้น และประเทศไทยพบหินแกรนิตกระจายตัวทุกภาคยกเว้นบนที่ราบสูงโคราช ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยหินแกรนิตที่พบในประเทศไทยวางตัวตามแนวเหนือใต้และแนวหินแกรนิตดังกล่าวยังกระจายตัวเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซีย ในบริเวณนี้คาดว่าเป็นหินแกรนิตที่วางตัวต่อเนื่องมาจากหินอัคนีเขายายดา
ทำครกหิน, หินประดับ, และหินก่อสร้าง
แนวแตก (joint) จะหมายถึง รอยแตกในหินที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปตามแนวระนาบของรอยแตกนั้น แนวแตกมักมีระยะห่างสม่ำเสมอกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางกลศาสตร์ของหินหนึ่งๆ โดยทั่วไปแนวแตกจะเกิดเป็นชุดๆ โดยชุดหนึ่งๆจะประกอบด้วยรอยแตกหลายแนวที่ขนานกันไป แนวแตกทั้งหลายที่เกิดขึ้นในหินแข็งเกิดจากถูกดึงออกด้วยแรงที่มากเกินจุดแตกหักของหินที่มีคุณสมบัติแกร่งและเปราะ การแตกของหินจะเกิดเป็นแนวระนาบขนานไปกับแนวความเค้นหลักสูงสุดและจะตั้งฉากกับแนวความเค้นต่ำสุด (ทิศทางที่หินแตกออก) ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นชุดของแนวแตกชุดหนึ่งๆที่มีทิศทางขนานกันไป