RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่
หมวดทรัพยากรกายภาพ ภูมิทัศน์
ชื่อทรัพยากร

ธรณีสัณฐานชายฝั่ง


ลักษณะเด่นและภาพประกอบ

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพประกอบขนาดใหญ่


ประเภท

การกัดเซาะชายฝั่ง (Coastal Erosion)


ชนิด

การกัดเซาะชายฝั่งโดยคลื่น (wave erosion)

โครงสร้าง/ลักษณะเฉพาะ/ลักษณะอื่นๆ
ภูมิประเทศเป็นหัวแหลมผาชัน (headland) ที่มีกระบวนการผุพัง และ การกร่อน กัดเซาะโดยน้ำทะเล เห็นแท่งหินหรือเรียกว่า เกาะหินโด่ง (sea stack)


สถานที่พบ
เขาหมาจอจังหวัดระยอง
การกระจายตัว

เกาะหินโด่ง (sea stack) มักจะพบได้ในบริเวณ ภูมิประเทศเป็นหัวแหลมผาชัน (headland) ซึ่งเป็นชื่อภูมิประเทศย่อย ในกระบวนการที่เกิดจากการก่อน และการกัดเซาะโดยน้ำทะเล ในประเทศไทย พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทย และ ฝั่งทะเลอันดามัน เช่น เกาะตาปู หรือ เกาะตะปู จ.พังงา


การใช้ประโยชน์

เกาะหินโด่ง (sea stack) หลายพื้นที่ถูกพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น เกาะตาปู หรือ เกาะตะปู จ.พังงา

ข้อมูลอื่นๆ

การกัดเซาะชายฝั่งโดยคลื่น (wave erosion) สามารถทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศได้หลายแบบ ดังนี้ 1) หน้าผาคลื่นตัด (wave-cut cliff) เป็นภูมิลักษณ์ที่เด่นชัดที่สุดที่จะพบได้กับชายฝั่งยกตัวทำให้ได้หน้าผาที่สูงชันตลอดแนวชายฝั่ง 2) เว้าทะเล (sea notch) เป็นพัฒนาการการกัดเซาะที่คืบคลานรุกล้ำเข้าฝั่งของน้ำทะเล โดยในช่วงแรกน้ำจะกัดในระดับเดียวกับผิวน้ำ ซึ่งก็จะได้เว้าทะเล และเมื่อน้ำกัดเซาะจนเกิดเว้าทะเลลึกเข้าไปใต้หน้าผาหินมากขึ้น สุดท้ายหน้าผาด้านบนก็จะถล่มลง และวนกลับกลายเป็น หน้าผาคลื่นตัด แต่ผาจะร่นเข้าไปในฝั่งมากยิ่งขึ้น 3) ถ้ำทะเล (sea cave) ในบางพื้นที่ของหน้าผา หินมีรอยแตกและผุพังมากกว่าบริเวณอื่นๆ เมื่อน้ำทะเลเขากระแทกจะกัดเซาะหินได้ดีบริเวณที่มีรอยแตกนำ และอาจเกิดเป็นถ้ำทะเลได้เช่นกัน 4) ถ้ำลอด (sea arch) เมื่อถ้ำทะเลเป็นโพรงหรือถ้ำที่เปิดทะลุออกสู่ทะเลทั้งสองด้าน จะเห็นเป็นเหมือนซุ้มประตูหิน 5) เกาะหินโด่ง (stack) เมือหินด้านบนที่เป็นเพดานของถ้ำลอดพังลง จะได้หน้าผาชั้นด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านจะเห็นเป็นแท่งหินที่โผล่ขึ้นมากลางทะเล หรือเรียกว่าเกาะหินโด่ง