RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่
หมวดทรัพยากรกายภาพ หิน
ชื่อทรัพยากร

หินแกรนิต (Granite)


ลักษณะเด่นและภาพประกอบ

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพประกอบขนาดใหญ่


ประเภท

หินอัคนี (Igneous Rock)


ชนิด

หินอัคนีระดับลึก (plutonic rock)

โครงสร้าง/ลักษณะเฉพาะ/ลักษณะอื่นๆ
หินแกรนิต (two-mica granite) สีเหลืองเทา มีผลึกเนื้อดอก (porphyritic texture) ขนาดเท่ากัน ขนาดประมาณ 1-2 mm. มีแร่ดอก (phenocryst) เป็นแร่ฟันม้า (orthoclase หรือ K-felspar) ขนาดประมาณ 4 mm. และบางจุดพบสายแร่ quartz ขนาดเล็กแทรกตัวเข้ามาในเนื้อหินแกรนิตและเห็นการกระจุกตัวของแร่ (autocryst) ของแร่ biotite นอกจากนี้ ลักษณะเนื้อหินเริ่มมีการเรียงตัวของแร่ขาว-ดำ เป็นชั้นและเห็นริ้วลาย หินแกรนิต โผล่ให้เห็นตามธรรมชาติทำให้ปรากฏเป็นภูมิประเทศเป็นหัวแหลมผาชัน (headland) หาดของหาดบางแสนเป็นต้น


สถานที่พบ
แหลมแท่นจังหวัดชลบุรี
การกระจายตัว

ในภาคตะวันออกพบกระจายตัวหลายจังหวัด เช่น ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เป็นต้น และประเทศไทยพบหินแกรนิตกระจายตัวทุกภาคยกเว้นบนที่ราบสูงโคราช ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยหินแกรนิตที่พบในประเทศไทยวางตัวตามแนวเหนือใต้และแนวหินแกรนิตดังกล่าวยังกระจายตัวเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซีย


การใช้ประโยชน์

ทำครกหิน, หินประดับ, และหินก่อสร้างลักษณะต่างๆ

ข้อมูลอื่นๆ

หินแกรนิต (two-mica granite) เป็นชนิดย่อยของหินแกรนิต โดยมีองค์ประกอบของแร่แผ่น (mica) เท่าๆกัน ในบริเวณนี้คือแร่ Biotite และ Muscovite หรืออาจเรียกหินชนิดนี้ว่า Biotite-Muscovite granite