RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่
หมวดทรัพยากรกายภาพ หิน
ชื่อทรัพยากร

หินบะซอลต์ (Basalt)


ลักษณะเด่นและภาพประกอบ

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพประกอบขนาดใหญ่


ประเภท

หินอัคนี (Igneous Rock)


ชนิด

หินอัคนีระดับลึก (plutonic rock)

โครงสร้าง/ลักษณะเฉพาะ/ลักษณะอื่นๆ
เขาพลอยแหวนเป็นปากปล่องภูเขาไฟโบราณ หินพี่พบในพื้นที่เป็นหินบะซอลต์ มีสีดำ เนื้อหินมีรูพรุน (vesicular texture) ผุพังเป็นดินสีน้ำตาลแดง มีผลึกของแร่แปลกปลอม (xenocryst) ขนาด 1-2 cm และพบหินแปลกปลอมในหินบะซอลต์ คือ หินเพริดไทต์(peridotite) หินดันไนต์ (dunite)


สถานที่พบ
เขาพลอยแหวนจังหวัดจันทบุรี
การกระจายตัว

ภูเขาไฟหินบะซอลต์ กระจายตัวอยู่บางบริเวณของประเทศไทย เช่น จ.จันทบุรี จ.ลำปาง จ.บุรีรัมย์ จ.กาญจนบุรี เป็นต้น


การใช้ประโยชน์

วัสดุก่อสร้างถนน เทพื้นรองหมอนและรางรถไฟ และทำเป็นแผ่นปูพื้นหรือผนัง

ข้อมูลอื่นๆ

หินบะซอลต์ เป็นหินอัคนีพุ ซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของแมกมาหรือลาวาอย่างรวดเร็วบนผิวโลก โดยหินบะซอลต์มักพบเป็นสีดำหรือสีเข้มมีแร่องค์ประกอบและองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ อาจพบมีเนื้อสองขนาดที่มีผลึกขนาดโตกว่าอยู่ในพื้นเนื้อละเอียด หรือมีเนื้อเป็นโพรงข่าย หรือมีเนื้อเป็นตะกรันภูเขาไฟ (scoria)