RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่
หมวดทรัพยากรกายภาพ ศิลาแลง
ชื่อทรัพยากร

ศิลาแลง (Laterite)


ลักษณะเด่นและภาพประกอบ

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพประกอบขนาดใหญ่


ประเภท

ศิลาแลง (Laterite)


ชนิด

-

โครงสร้าง/ลักษณะเฉพาะ/ลักษณะอื่นๆ
หินที่พบในพื้นที่ ด้านบนเกิดเป็นศิลาแลงมีสีแดง มีความแข็งมากปิดทับกับดินด้านล่างซึ่งมีความร่วนมากกว่าผุพังได้ง่าย


สถานที่พบ
เขาหนองตลิ่งจังหวัดระยอง
การกระจายตัว

ศิลาแลงกระจายตัวในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นฝนตกชุก หรือบริเวณที่มีความแตกต่างของระดับน้ำใต้ดินในแต่ละฤดูกาล พบได้ทั่วไปในประเทศไทย พบมากที่จังหวัดปราจีนบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก และ บริเวณที่ราบสูงโคราช


การใช้ประโยชน์

วัสดุก่อสร้าง , ดินลูกรังถมถนน

ข้อมูลอื่นๆ

กระบวนการสลายตัวธรรมชาติในเขตร้อน (tropical weathering) เป็นกระบวนการ เริ่มต้นของกระบวนการก่อกำเนิดลูกรัง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีฟิสิกส์มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปของแร่ในหินต้นกำเนิด เกิดเป็น แร่ดินเหนียวประเภทสองชั้น (two layer clay minerals) และออกไซด์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของลูกรังซึ่งได้แก่ Fe₂O₃ SiO₂ และ MnO สะสม ในปริมาณมาก